โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่ทำให้สมองขาดเลือด แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic stroke) พบได้ ประมาณ 80% และหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke) พบได้ ประมาณ 20%
อาการ
- ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้า หรือบริเวณ แขนขาครึ่งซีกของร่างกาย เดินเซ
- ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก
- ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง
- โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของโรคหลอดเลือดสมอง
- โรคเบาหวาน ทำสภาพหลอดเลือดแข็งมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนปกติ 2-3 เท่า
- ภาวะไขมันในเลือดสูง คือภาวะไขมันสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือด ทำให้กีดขวางการลำเลียงเลือด
- โรคหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดสมอง
- การสูบบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองถึง 3.5%
ความสำคัญของการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัด
- เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่น ลดภาวะเกร็ง
- ฝึกการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อและข้อต่อ
- ฝึกการทรงตัว ฝึกการเดิน
- ฝึกการเคลื่อนไหวต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)
สาเหตุ
เกิดจากความเสื่อมของเซลล์สมอง โดยส่วนที่สร้างโดพามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่จำเป็นต่อการทำงานของสมอง ทำให้โดพามีนมีปริมาณน้อยลง จึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการเคลื่อนไหว ซึ่งความเสื่อมของเซลล์ อาจเกิดจาก ความชราภาพของสมอง ยากล่อมประสาท สารพิษทำลายสมอง เป็นต้น
อาการ
- อาการสั่น พบว่าเป็นอาการเริ่มต้นของโรคประมาณร้อยละ 60 – 70 ของผู้ป่วยจะมีอาการสั่น โดยเฉพาะเวลาที่อยู่นิ่ง ๆ
- อาการเกร็ง ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะแขน ขา และลำตัว ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวหรือทำงานหนัก
- เคลื่อนไหว โดยเฉพาะเมื่อเริ่มต้นเคลื่อนไหว บางรายหกล้มจนเกิดอุบัติเหตุ เช่น สะโพกหัก หัวเข่าแตก เป็นต้น
- ท่าเดินผิดปกติ ท่าเดินจำเพาะตัวที่ผิดจากโรคอื่น คือ ก้าวเดินสั้น ๆ แบบซอยเท้าในช่วงแรก ๆ และจะก้าวยาวขึ้นเรื่อย ๆ จนเร็วมากและหยุดไม่ได้ทันที
- การแสดงสีหน้า ใบหน้าของผู้ป่วยจะเฉยเมยไม่มีอารมณ์เหมือนใส่หน้ากาก เวลาพูดมุมปากจะขยับเพียงเล็กน้อย
- การเขียน ผู้ป่วยจะเขียนหนังสือลำบาก ตัวหนังสือจะค่อย ๆ เล็กลงจนอ่านไม่ออก
การรักษา
- รักษาด้วยยา เช่น ยากลุ่ม LEVODOPA และยากลุ่ม DOPAMINE AGONIST เป็นหลัก
- การรักษากายภาพบำบัด เช่น ฝึกการเดิน ฝึกการเคลื่อนไหวต่างในชีวิตประจำวันด้วยโปรแกรมที่เฉพาะ การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรง การยืดกล้ามเนื้อ