บทความ

สูงวัย กับ ‘ไม้เท้า’ ช่วยเดิน

ไม้เท้า กับผู้สูงอายุเป็นของคู่กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเมื่อเราแก่ตัวลงการเดิน การทรงตัว ก็ค่อย ๆ แย่ลงตามไปด้วย การมีอุปกรณ์ช่วยพยุงร่างกายก็ถือว่าเป็นไอเท็มที่ขาดไม่ได้เลย เพราะตัวช่วยอย่างไม้เท้าก็จะช่วยซัพพอร์ตร่างกายตอนยืน เดิน และทรงตัวให้อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งได้ แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าไม้เท้าแบบไหนใช้อย่างไร และเหมาะสมกับใคร วันนี้ กนก คลินิกกายภาพบำบัด ขอมาแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ช่วยเดินให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่บ้านของคุณกัน หากบ้านใครที่กำลังมองหาอุปกรณ์ช่วยเดินสำหรับผู้สูงอายุอยู่ ก็หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยทำให้ตัดสินใจในการเลือกใช้อุปกรณ์ช่วยเดินได้อย่างถูกวิธี และสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง แต่หากว่ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งาน หรือไม่แน่ใจว่าผู้สูงอายุที่บ้านของท่านจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเดินหรือไม่ ก็อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจจะทำให้เสี่ยงต่อการล้มในอนาคตได้ ควรมาปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อจะได้รับข้อมูลและคำแนะนำที่เหมาะสมต่อการใช้งานให้มากยิ่งขึ้นนะครับ

Kanok Health Care

18 Sep 2021

บทความ

ท่าออกกำลังกายกับเก้าอี้สำหรับ ‘ผู้สูงอายุ’

เมื่ออายุมากขึ้น มวลกล้ามเนื้อเริ่มลดลง ส่งผลให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงลดลง เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มเวลาเดิน วันนี้กนก คลินิกกายภาพบำบัด ขอนำเสนอ 5 ท่าออกกำลังกายกับเก้าอี้สำหรับ ‘ผู้สูงอายุ’ ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆที่บ้าน และใช้อุปกรณ์ที่เรามีที่บ้านกันทุกคน เป็น ‘ผู้สูงอายุ’ ก็ออกกำลังกายได้ อาจไม่ต้องออกหนักเท่าวันหนุ่มสาวแต่การที่ลุกขึ้นมาขยับร่างกายก็จะช่วยทำให้ชะลอความเสื่อมของกล้ามเนื้อและไขข้อไปได้ อีกทั้งยังช่วยเรื่องการทรงตัว ให้ไม่เสี่ยงล้มได้อีกด้วย หากบ้านคุณมีผู้สูงอายุอยู่ด้วยก็อย่าลืมพาท่านออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นกันนะคะ

Kanok Health Care

4 Sep 2021

บทความ

5 ท่า “บริหารหลัง” สุดมหัศจรรย์ ลดอาการปวดหลัง

หมดไปแล้วกับ 5 ท่า “บริหารหลัง” สุดว้าว ไม่ยากเลยใช่มั้ยละ ลองไปทำตามกันดูได้นะคะ แต่สิ่งสำคัญเลยต้องออกแล้วไม่รู้สึกเจ็บ หรือปวดเพิ่มมากขึ้น หากออกกำลังกายไปแล้วอาการกลับแย่ลง แบบนี้ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ควรจะต้องปรึกษานักกายภาพบำบัดเพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด และรักษาให้ตรงจุดมากขึ้น อย่าปล่อยให้อาการปวดหลังคอยกวนใจ มาสร้างกล้ามเนื้อที่ดีกันนะครับ

Kanok Clinic

23 Aug 2021

บทความ

ชามือ ‘ปวดมือ’ จากการพิมพ์งานหนัก แก้ยังไงดี ?

‘ปวดมือ’ ชามือ ตอนพิมพ์งานนาน ๆ อาการยอดฮิตของคนทำงานด้านเอกสาร จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันไม่สามารถใช้มือในการจับช้อน แก้วน้ำ ในการทานข้าวได้ หยิบจับอะไรหลุดมือ หรือเขียนหนังสือไม่ได้ จนอาจทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงแล้วอาการปวดข้อมือ ชามือ จะมีวิธีการดูแลอย่างไร ตามไปอ่านกันเลย โรคพังผืดกดทับเส้นประสาทมีเดียนบริเวณข้อมือ หรือที่เรียกว่า “Carpal tunnel syndrome” เป็นโรคที่โครงสร้างพังผืดบริเวณข้อมือเกิดอาการอักเสบและไปกดทับเส้นประสาทมีเดียนที่ข้อมือ จนทำให้เกิดอาการมือชา และ ‘ปวดข้อมือ’ ส่งผลให้กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การหยิบจับสิ่งของ การทำงานบ้าน หรือการทำงานที่ต้องใช้เมาส์และแป้นพิมพ์ได้นั่นเอง หากลองทำตาม 5 ขั้นตอนนี้กันไปแล้ว อาการ ‘ปวดมือ’ ยังไม่ทุเลาลง มีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น หรือคงเดิม ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ควรรีบมาตรวจเพิ่มเติมกับนักกายภาพบบำบัดเพื่อเข้ารับการรักษาที่ตรงจุดมากยิ่งขึ้นนะคะ

Kanok Clinic

3 Aug 2021

บทความ

‘โต๊ะทำงาน’ สุขภาพ จัดอย่างไรให้สุดปัง

“โต๊ะทำงาน” ของมนุษย์ทำงานในปัจจุบันล้วนเต็มไปด้วยกองเอกสาร และอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นเต็มไปหมด จึงเป็นสาเหตุของการทำงานที่ไม่สบายตา และยังส่งผลต่อสุขภาพในการทำงานได้อีกด้วย เพราะการเอื้อมหยิบเอกสารในการทำงานบางครั้งก็อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อได้ เช่น ต้องเอี้ยวตัวไปหยิบเอกสารที่อยู่ไกลมือ ทำให้เกิดอาการเคล็ดกล้ามเนื้อหลังขึ้นมาได้นั่นเอง ดังนั้นการจัดโต๊ะทำงานให้สะดวกต่อการใช้งานก็จะสามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อและโครงสร้างอื่น ๆ ของร่างกายได้ แล้วจะมีวิธีอะไรบ้าง ตามไปอ่านกันได้เลย

Kanok Clinic

3 Aug 2021

บทความ

5 ท่าบริหารคอ บ่า ไหล่ สำหรับชาว WFH ที่ควรรู้ไว้

เคยไหมมีอาการปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ จากการนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ จนไม่สามารถขยับหันคอซ้ายขวาได้เลย และก็รู้สึกตึงร้าวไปทั่วคอบ่า จนต้องหยุดทำงานชั่วคราวไปในบางครั้ง อาการตึงกล้ามนเนื้อจนส่งอาการปวดเมื่อยล้า รบกวนการทำงานแบบนี้ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เบื้องต้นเราควรต้องแก้ไขด้วยการทำ “ท่าบริหารคอ” เพื่อยืดกล้ามเนื้อ ให้เกิดความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และลดอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้้นต่อไปได้ จะมีท่าอะไรบ้าง ตามไปดูกันได้เลย 5 ท่าบริหารคอ โดยการยืดทำเพียงแค่ตึง ไม่รู้สึกเจ็บ หากรู้สึกเจ็บขณะยืดกล้ามเนื้อให้พักทันทีนะคะ เพราะอาจเป็นการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเกิดการบาดเจ็บซ้ำได้ และหากทำท่าเหล่านี้เป็นประจำก็จะสามารถช่วยลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ลงไปได้ แต่ถ้าหากยังคงมีอาการเจ็บ ปวด หรือเมื่อยอยู่ ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นะคะ ควรปรึกษานักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญเพื่อเข้ารับการตรวจประเมินและรักษาให้ตรงจุดมากยิ่งขึ้นนะคะ

Kanok Clinic

17 Oct 2020

บทความ

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

กนก เฮลท์ แคร์ เป็นสถานที่ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยพักฟื้นระยะสั้น ระยะยาว และผู้ป่วยฟื้นฟูสุขภาพ โดยทีมแพทย์ พยาบาลวิชาชีพและนักกายภาพบำบัด ที่มีความเชี่ยวชาญ พร้อมประสบการณ์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานงานบริการของสาธารณสุข มุ่งเน้นการพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวมทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย โดยทีมงานคุณภาพซึ่งดูแลตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งให้คำปรึกษาด้านสุขภาพและการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องโดยสร้างความพร้อมให้กับครอบครัวต่อการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

Chanokporn Sudthinon

17 Oct 2020