โรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis)
สาเหตุ
-
80% เกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic scoliosis) ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อยจากวัยที่พบภาวะครั้งแรก คือ
– Infantile idiopathic scoliosis อายุ 0-3 ปี
– Juvenile idiopathic scoliosis อายุ 4-9 ปี
– Adolescent idiopathic scoliosis พบเมื่ออายุมากกว่า 9 ปีนอกจากนี้ยังมีกลุ่ม adult scoliosis เป็นการเริ่มเกิดการเพิ่มมุมโค้งมากขึ้นอีกครั้ง (progression restart) ของกระดูกสันหลังคดที่เคยคงที่แล้ว ส่วน degenerative scoliosis เริ่มเกิดหลังวัยหมดประจำเดือน (post-menopause)
-
20% ทราบสาเหตุ เช่น โรคทางระบบประสาท (neuropathic), โรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (neuromuscular) อาการ
– ไหล่ไม่เท่ากัน
– กระดูกสะบักนูนไม่เท่ากัน
– ระดับเอวไม่เสมอกัน
– สะโพกสองข้างสูงต่ำ ไม่เท่ากัน
– ปวดหลัง
– กล้ามเนื้อเกร็ง
– รู้สึกเหนื่อยง่าย หายใจติดขัด
การรักษา
- การรักษาโดยไม่ผ่าตัด เช่น การรักษาทางกายภาพบำบัด โดยการออกกำลังกายด้วยรูปแบบที่เฉพาะ เพื่อปรับลักษณะโครงสร้างของกระดูก ยืดกล้ามเนื้อส่วนที่หดสั้น และเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อที่ยืดยาว เป็นต้น , การใส่เสื้อเกราะ (Brace) เพื่อปรับโครสร้าง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตระหนักเรื่องการทรงท่าตลอดเวลา
- การรักษาโดยการผ่าตัด ทำการรักษาเมื่อผู้ป่วยมีอาการกระดูกสันหลังคดรุนแรงมากกว่า 60 องศาและทำการรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น