5 ท่าบริหารคอ บ่า ไหล่ สำหรับชาว WFH ที่ควรรู้ไว้

เคยไหมมีอาการปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ จากการนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ จนไม่สามารถขยับหันคอซ้ายขวาได้เลย และก็รู้สึกตึงร้าวไปทั่วคอบ่า จนต้องหยุดทำงานชั่วคราวไปในบางครั้ง อาการตึงกล้ามนเนื้อจนส่งอาการปวดเมื่อยล้า รบกวนการทำงานแบบนี้ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เบื้องต้นเราควรต้องแก้ไขด้วยการทำ “ท่าบริหารคอ” เพื่อยืดกล้ามเนื้อ ให้เกิดความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และลดอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้้นต่อไปได้ จะมีท่าอะไรบ้าง ตามไปดูกันได้เลย

5 ท่าบริหารคอ

ท่าบริหารคอ Kanok

  • Upper trapezius Stretching (ท่ายืดกล้ามเนื้อคอ)

ท่าเริ่มต้น : นั่งหรือยืน หลังตรง ไม่เกร็งบ่าไหล่

ท่าทาง : ก้มศีรษะ เอียงศีรษะไปด้านข้าง หมุนศีรษะขึ้น หรือตามองขึ้นฟ้า

จำนวนการทำ : ค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 5 ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน

ท่าบริหารคอ Kanok
  • Levator scapula Stretching (ท่ายืดกล้ามเนื้อคอ)

ท่าเริ่มต้น : นั่งหรือยืน หลังตรง ไม่เกร็งบ่าไหล่

ท่าทาง : ก้มศีรษะ เอียงศีรษะไปด้านข้าง มองไหล่ด้านที่เอียงคอ

จำนวนการทำ : ค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 5 ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน

บริหารคอ Kanok
  • Neck flexor Stretching (ท่าเงยศีรษะ)

ท่าเริ่มต้น : นั่งหรือยืน หลังตรง

ท่าทาง : เอามือประสานกันตรงใต้คางและเงยศีรษะขึ้น

จำนวนการทำ : ค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 5 ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน

บริหารคอ Kanok
  • Neck extensor Stretching (ท่าก้มศีรษะ)

ท่าเริ่มต้น : นั่งหรือยืน หลังตรง

ท่าทาง : เอามือประสานท้ายทอย และก้มศีรษะขึ้น

จำนวนการทำ : ค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 5 ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน

บริหารคอ Kanok
  • Shoulder elevation (ท่ายักไหล่)

ท่าเริ่มต้น : นั่งหรือยืน หลังตรง

ท่าทาง : นั่งหลังตรง ยักไหล่ขึ้นสองข้างพร้อมกัน ค้างไว้และปล่อยลง

จำนวนการทำ : ค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 5 ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน

โดยการยืดทำเพียงแค่ตึง ไม่รู้สึกเจ็บ หากรู้สึกเจ็บขณะยืดกล้ามเนื้อให้พักทันทีนะคะ เพราะอาจเป็นการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเกิดการบาดเจ็บซ้ำได้ และหากทำท่าเหล่านี้เป็นประจำก็จะสามารถช่วยลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ลงไปได้

แต่ถ้าหากยังคงมีอาการเจ็บ ปวด หรือเมื่อยอยู่ ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นะคะ ควรปรึกษานักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญเพื่อเข้ารับการตรวจประเมินและรักษาให้ตรงจุดมากยิ่งขึ้นนะคะ